วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หัวใจชายหนุ่ม


ประวัติผู้แต่ง

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๖  แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์  เสด็จพระราชสมภพ  เมื่อวันเสาร์ที่      มกราคม   พ.ศ. ๒๔๒๓ ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้รับพระราชทานนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ  และได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี  ทำให้ทรงมีพระเกียรติยศเป็นชั้นที่ ๒ รองจาก
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช  เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร เมื่อพ.ศ. ๒๔๓๖ทรงได้เสด็จไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษทรงได้ศึกษาวิชาการทหารบก  ที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนเฮิสต์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๐ ต่อมาได้เสด็จไปทรงศึกษาวิชา ประวัติศาสตร์และกฎหมาย   ที่วิทยาลัยไครสต์เชิช มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด  การพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้กระทำเป็นสองคราว คราวแรกเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเฉลิมพระราชมณเฑียร  เมื่อวันที่  ๑๑  พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๔๕๓  อีกคราวเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภช  ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่  ๒๘พฤศจิกายน  ถึง  วันที่   ๑๐  ธันวาคม  พ.ศ.  ๒๔๕๔  โดยมีบรรดาผู้แทนพระองค์พระมหากษัตริย์ของประเทศที่มีสัมพันธไมตรีกับประเทศไทย  กับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ซึ่งเป็นตัวแทนของประมุขประเทศต่างๆ
 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว จากพระนางเจ้าสุวัทนา 
 พระวรราชเทวี ซึ่งประสูติเมื่อวันที่   ๒๔  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๔๖๘   ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน  เมื่อวันที่   ๒๖ พฤศจิกายน   พ.ศ.  ๒๔๖๘   เวลา    นาฬิกา ๔๕  นาที  พระชนมพรรษาเป็นปีที่ ๔๖  เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้  ๑๕  พรรษา


ด้านการศึกษา
ได้ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว    ได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในระดับอุดมศึกษา เมื่อปี พ.ศ.  ๒๔๕๙   ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือน
ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย
ด้านการเศรษฐกิจ 
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช  ๒๔๕๖  ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ  ทรงริเริ่มก่อตั้ง
บริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น

ด้านการคมนาคม
ได้ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐  ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่  สายใต้จากธนบุรีถึงไปเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม ๖ เพี่อเชื่อมทางรถไฟในพระราชอาณาจักร

ด้านศิลปวัฒนธรรมไทย 
ทรงโปรดศิลปะการแสดงโขน  ละคร  จึงได้ทรงตั้ง กรมมหรสพ ขึ้นเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย   และยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวง    ไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้  ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรม  สถาปัตยกรรมไทย

ด้านการต่างประเทศ 
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราช-โองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน  ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย – ฮังการี  บัลกาเรีย และตุรกี      ซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง     โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร  ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษ  ฝรั่งเศส  และรัสเซียเป็นผู้นำ  เมื่อวันที่  ๒๒  กรกฏาคม  พ.ศ.  ๒๔๖๐  พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ     ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย   ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ  ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศ  ขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย

ด้านการแพทย์และการสาธารณสุข 
ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์และ วชิรพยาบาล  และได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดสถานเสาวภา  เมื่อวันที่   ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๖๕  และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ  เมื่อ วันที่  ๑๔  พฤศจิกายน  พ.ศ.  ๒๔๕๗
ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือ 
ได้ทรงจัดตั้ง กองเสือป่า ขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่    พฤษภาคม  พ.ศ.  ๒๔๕๔  และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน

ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตย 
ทรงได้ศึกษาวิชาการปกครองระบอบนี้มาจากประเทศอังกฤษ ได้ทรงทดลองตั้ง เมืองมัง หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม  ทรงจัดให้เมืองมัง  มีระบอบการปกครองของตนเอง  ตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง ดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต  ซึ่งต่อมาทรงย้ายไปพระราชวังพญาไท
ด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ 
ได้ทรงเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษ  พระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทุกประเภท  ตั้งแต่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราชานุศาสนีย์  เทศนาปลุกใจเสือป่า  นิทาน  มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส  ซึ่งเต็มไปด้วย   ข้อคิดและคำคม วรรณกรรมของพระองค์ท่านจะสอนให้รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์    ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการพิจารณายกย่อง  คือ     หัวใจนักรบ ด้านละครพูด     มัทนะพาธาด้านคำฉันท์   และพระนลคำหลวง ด้านกวีนิพนธ์ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นทั้ง   นักประพันธ์  กวี  และนักแต่งบทละคร ได้ทรงเป็นปราชญ์สยามคนที่ ๕ ประชาชนได้ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า สำหรับด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.ศ. ๒๔๖๕ ขึ้น

สรุปเรื่อง หัวใจชายหนุ่ม


ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

เกี่ยวกับผู้ทรงพระราชนิพนธ์

-         เป็นบทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๖ ทรงใช้นามปากกาว่า รามจิตติ

-         ทรงเป็นโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระนามเดิม คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ

-         ทรงได้รับสามัญญา ว่า พระมหาธีระราชเจ้า แปลว่า นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่

-         ทรงคัดเลือกจดหมายฉบับที่น่าอ่าน ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต ซึ่งเป็นหนังสือพืมพ์รายสัปดาห์

ลักษณะการแต่ง บันเทิงคดี โดยใช้การเขียนจดหมายเล่าเรื่องเป็นตอนๆต่อเนื่องกันไป เป็นจด ๑๘ ฉบับ

เรื่องย่อ นายประพันธ์เป็นนักเรียนนอกเรียนจบจากอังกฤษ มีความนิยมวัฒนธรรมผรั่ง ชื่นชมผู้หญิงสมัยใหม่จนได้แต่งงานกับผู้หญิงทันสมัย ที่ขาดคุณสมบัติขิงภรรยาที่ดี ชีวิตประสบอุปสรรคแต่ในที่สุดปัญหาต่างๆก็คลี่คลายไป

ข้อความสำคัญของจดหมาย

จดหมายฉบับที่ ๑ เรือโอยามะมะรูในทะเลแดง

-         การรักเมืองไทยเปรียบเหมือนรักพ่อแม่แต่การรักเมืองอังกฤษเหมือนรักเมีย

-         การเต้นรำเหมือนชีวิตของฉัน เพื่อนๆเคยล้อว่าถ้าฉันไม่เต้นรำนานๆถึงปวดท้อง

-         การเต้นรำมาสู้สำคัญเท่าเรื่องที่ไม่ได้กอดผูหญิงนั่นแหละ ถ้าไม่มีการเต้นรำ เราจะวิ่งไปกอดเขาดื้อๆใครเขาจะยอม

-         ในเมืองไทยยังมีคนครึอยู่มาก ที่ชอบเก็บลูกสาวไม่ให้พบเห็นผู้ชาย

-         ฉันแทบอยากจะพาเอาลีลี่เข้าไปเสียด้วยแล้ว แต่นึกสงสารหล่อนที่จะต้องไปตกในหมู่คน อันศิวิไลช์” จะทนทานไม่ไหว

      จดหมายฉบับที่ ๔ บ้านที่หัวลำโพง

-         ฉันต้องไหว้คนมาเสียมากต่อมากจนนับไม่ถ้วน ฉันแทบจะลงรอยท่ป็นท่าประณมอยู่ 

เสมอป็นแล้วและหลังก็เกือบจะโค้งเพราะคำนับคนไม่ได้หยุด

-         ความปรารถนาอันยิ่งใหญ่ของคุณพ่อ คือ อยากให้ฉันเข้ารับราชการในราชสำนัก แต่ผู้ที่

ต้องการสมัยนี้มันมีมากมายจนเหลือตำแหน่ง

-         ฉันบอกว่าจะลองประกอบอาชีพค้าขายดูบ้างแต่คุณพ่อไม่ยอมให้ทำเช่นนั้น ท่านว่า

ค้าขายไม่มีหนทางที่จะเป็นใหญ่เป็นโตต่อไปได้

-         ฉันได้ไปเรียนมาจากยุโรป..จะแต่งงานแบบคลุมถุงชนไม่ได้เลย

-         กรุงเทพฯหาที่เที่ยวยากเพราะขาดเร็สตอรังศ์และโรงละครดีๆ

จดหมายฉบับที่ ๕ ถนนหัวลำโพง

-         ในที่สุดฉันเป็นอันได้เข้ารับราชการในกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์

-         ฉันไปดูตัวแม่กิมเน้ยแล้วหน้าตาหล่อนเหมือนนางชุนฮูหยิน ตายาว หลังตาชั้นเดียว ผิวขาวดี ใช้เสื้อผ้าดีถูกแฟชั่นแต่แต่งเครื่องเพชรมากไป

-         รายที่ฉันเล่ามาในจดหมายว่าได้เห็นที่โรงพัฒนากรนั้น ได้สืบสาวว่าหล่อนชื่ออุไร ได้ข่าวว่าหล่อนเป็นผู้หญิงสมัยใหม่แท้ ไม่หดหู่กลัวผู้ชาย

-         ถ้าได้รู้จักผู้หญิงอย่างเช่นแม่อุไรแล้วจะทำให้ฉัยค่อยวายค่อยวายคิดถึงเมืองอังกฤษได้และจะทำให้ชีวิตเป็นของน่าดำรงอีกด้วย

-         หล่อนจะพอใจในตัวฉันหรือไม่ก็ยังไม่รู้ได้ เพราะหล่อนเป็นผู้ที่มีชายตอมมานานแล้ว

จดหมายฉบับที่ ๖ ถนนหัวลำโพง

-         นึกๆก็น่าประหลาดอยู่ที่ในเมืองเรานี้พี่น้องจูบกันไม่ได้เหมือนอย่างฝรั่งเขา แต่นึกไปอีกทีก็เห็นว่าห้ามไว้ดีกว่า ของฝรั่งเขาพี่น้องแต่งงานกันไม่ได้ แต่ของเราเป็นผัวเมียกันได้เท่ากับไม่ได้เป็นญาติกัน

-         ฉันได้เห็นอย่างแน่นอนว่าหล่อน ปอปูลาร์ปานใด หล่อนราวกับดวงไฟที่มีตัวแมลงบินตอมว่อนอยู่ หล่อนได้ยอมให้ฉันพาเที่ยวทุกคืน เต้นรำด้วยกัน กิน สัปเป้อร์ด้วยกันทุกคืน คนอื่นๆพากันริษยาฉันเป็นแถว

-         หล่อนเป็นผู้หญิงที่งามที่สุดของฉันได้พบในกรุงสยาม ไม่ใช่งามแต่รูปทั้งกิริยาก็งามยวนใจ พูดก็ดีและเสียงเพราะราวกับเพลงดนตรี

-         นึกถึงชุนฮูหยินที่คุณพ่ออยากได้เป็นลูกสะใภ้นัก หล่อนแต่งตัวไปเสียเพียบเพื่อ โช คน พราวทั้งตัวราวกับหุ่นที่เขาติดของสำหรับขาย

จดหมายฉบับที่ ๙ หัวหิน

-         การแต่งงานของฉันหาได้เป็นไปโดยสมปรารถนาทุกประการไม่ แต่ข้อสำคัญคือว่าได้แต่งงานกันแล้ว ทำให้ค่อยโล่งใจไปมากเพราะตามที่เป็นอยู่ก็แต่ก่อนรู้สึกว่ามันไม่งดงามเลย

-         ท่านไม่อยากได้แม่อุไรมาเป็นลูกสะใภ้ โดยรังเกียจว่าได้เคยรู้จักมักคุ่นกับผู้ชายมาหลายคนแล้ว ที่บ้านนั้นใช้คำเรียกว่า โรงเรียนฝึกหัดเจ้าชู้

-         ในที่สุดฉันต้องบอกท่านว่า ถ้าจะให้คอยอีกปีหนึ่งละก็คุณพ่อต้องได้หลานเสียนั้นแล้ว ท่านตะลึงเป็นครู่หนึ่ง จึงกล่าวว่า  เมื่อเจ้าได้ชิงสุกก่อนห่ามเสียเช่นนั้นแล้ว พ่อก็สิ้นพูด

-         เมื่อแต่งงานแล้วได้ตกลงมา ฮันนี่มูน ที่หัวหิน แม่อุไรว่าเราเริ่มรักกันจริงจังที่หัวหิน แต่ฤดูนี้คนไม่ค่อยมากัน ออกจะเงียบๆอยู่

จดหมายฉบับที่ ๑๑ บ้านถนนสี่พระยา

-         บ้าน!”คำนี้ที่จริงควรเป็นคำไพเราะที่สุดสำหรับมนุษย์ แต่อนิจจาฉันเป็นคนอาภัพ ไม่ได้รับความสบายกายสบายใจด้วยคำว่า บ้าน นี้เลย

-         ถ้าขืนอยู่ที่เพชรบุรีต่อไปอีกสองหรือสามวันก็คงต้องอายขอายหน้าเขาเป็นแน่ ชาวเพชรบุรีคงได้เห็นฉันกับเมียวิวาทกันกลางเมือง

-         แม่อุไรเมียรักของฉัน เขาดูเหมือนจะถือคติตรงกันข้าม คือเห็นว่าถ้าโกรธผัวได้ต่อหน้าเป็นเกียรติยศดี

-         เมื่อมาถึงสถานีไม่มีผู้มารับเลยจนคนเดียว ทำให้แม่อุไรโกรธและบ่นไม่รู้จบพูดจาแดกดันจนฉันขอไว้เพราะการทะเลาะต่อหน้าคนแจวเรือจ้างดูไม่เป็นการงดงามเลย

-         เสียใจที่ดิฉันเป็นลูกผู้ดี ไม่เคยต้องยกต้องขนของอะไรเอง

จดหมายฉบับที่ ๑๒ บ้านที่ถนนสี่พระยา

-         จริงอยู่การที่ฉันหย่ากับแม่อุไรได้ถูกบางคนนินทาติโทษ แต่ฉันถือคติว่าการแต่งงานเป็นกิจส่วนตัว ไม่มีผู้ใดมารับสุขรับทุกข์แทนได้

-         ฉันเห็นว่าการที่ฉันคงเป็นผัวหญิงที่ไม่ด้อยู่ในบ้านฉันและไปอยู่ที่บ้านชายอื่นนั้น เป็นการหน้าด้านพ้นวิสัยจะทำได้

-         เขาตกลงหาบ้านให้แม่อุไรที่ราชประสงค์ เขาได้เงินเดือน ๗๐๐ บาท มีบ้าน๒หลัง เมีย๘คน ม้า๔ตัว เล่นกีฬาและเลี้ยงเพื่อนฝูงบ่อยๆเก่งไหม?

-         ฉันได้ย้ายตำแหน่งมาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์

-         ส่วนทางเสือป่า ฉันได้เข้าไปประจำอยู่กรมม้าหลวงแล้ว การที่เคยฝึกหัดในกองฝึกหัดนายทหารที่อ๊อกฟอร์ดนั้นเป็นผลดีแก่ฉันทีเดียว นได้เป็นผู้รั้งผู้บังคับบัญชาหมวดผู้๑ และได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่เอก

จดหมายฉบับที่ ๑๕ กรมเสือป่าม้าหลวง ร.อ.พระราชวังสนามจันทร์

-         มีการเต้นรำของกระทรวงต่างประเทศ พระยาตระเวนพาลูกสาวไปแต่ไม่ได้พาแม่อุไรไปด้วยเพราะยังไม่ได้เป็นผัวเมีย โดยทางราชการ

-         งานฤดูหนาวพระยาตระเวนเดินดวงอยู่กับแม่สร้อยโดยมาก ส่วนแม่อุไรคงนึกแค้นไม่น้อยเพราะเขาถือตัวว่า เป็นผู้หญิงงามลัยั่วยวนมากที่สุดในเมืองไทยและเชื่อว่าจะผูกใจอันรวนเรของพระยาตระเวนไว้ได้

-         หล่อนคงเห็นชอบตามสุภาษิตอังกฤษว่า ขนมปังครึ่งก้อนยังดีกว่าไม่มีเลย

-         ความจริงมีอยู่ว่าผู้ชายใดยิ่งมีชื่อเสียงเป็นนักเลงผู้หญิงมักก็ยิ่งหาเมียง่าย

-         เมื่อไรผู้หญิงไทยที่ดีๆพร้อมใจกันตั้งกติกาไม่ยอมเป็นเมียคนที่เลี้ยงผู้หญิงไว้อย่างเลี้ยงไก่เป็นฝูงๆเท่านั้นแหละ ผู้ชายพวกมักมากในกามซึ่งจะต้องกลับความคิดและเปลี่ยนความประพฤติ

จดหมายฉบับที่ ๑๗ บ้านที่ถนนสี่พระยา

-         ฉันมีความยินดีที่ฉันได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้นแล้ว นับว่าได้ขึ้นเร็วเกินกว่าที่ฉันเองคาดหมาย

-         หล่อนแต่งตัวเรี่ยม เสื้อแพรสีชมพูบางๆนุ่งซิ่นไหมสีชมพู ประดับเครื่องเพชร พลอยพองาม แต่ผัดหน้ามากไปสักหน่อย

-         คุณหลวงจะลงโทษอย่างไรดีฉันยอมรับทุกอย่าง ขอแต่ให้มีความกรุณาต่อดิฉันผู้เป็นสัตว์ผู้ยากเท่านั้น

-         พระยาตระเวนต้องการบ้านที่ราชประสงค์สำหรับแม่สร้อยเมียรักเขาอยู่ เขาจึงขอให้แม่อุไรไปอยู่ที่อื่น บ้านก็ไม่มีจะอยู่ เงินทองก็ไม่มีใช้สอย

-         หล่อนได้ขุดอู่ตามใจตนเองแล้ว เมื่อนอนในอู่นั้นไม่สบายจะโทษใครได้ การที่หล่อนกับฉันจะกลับคืนดีกันใหม่นั้น ฉันไม่แลเห็นหนทางที่จะเป็นไปได้

          จดหมายฉบับที่ ๑๘ บ้านที่ถนนสี่พระยา

-         ฉันต้องรีบบอกข่าวดีให้ทราบ แม่อุไรตกลงแต่งงานกับหลวงพิเศษผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ซึ่งนับว่าโชคดีสำหรับหล่อน

-         หลวงพิเศษนั้นรูปร่างไม่ใช่เทวดาถอดรูป แต่หวังใจว่าคงจะเข้าลักษณะขุนช้างคือ

          ถึงรูปชั่วใจช่วงเหมือนดวงเดือน ถึงใจไม่ช่วงเขาก็มีเงินพอที่จะซื้อความสุขให้แม่      

             อุไรได้

-         ฉันขอบอกตรงๆว่า ฉันได้รักผู้หญิงอยู่รายหนึ่งแล้ว ซึ่งฉันหวังว่าจะได้เป็นคู่ชีวิตกันต่อไปโดยยั่งยืนจีรัง

-         หล่อนชื่อนางสาวศรีสมาน เป็นลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก ฉันกับหล่อนได้คุ้นเคยพูดจากันเป็นที่ต้องใจแล้ว เจ้าคุณพิสิฐกับคุณพ่อของฉันก็ชอบกันมาก พอพ่อประเสริฐกลับเข้ามากรุงเทพฯก็เตรียมตัวเป็นเพื่อนบ่าวทีเดียวเถิด